วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บทที่3 วิธีดำเนินงาน


บทที่ 3

วิธีดำเนินงาน
ขั้นตอนการดำเนินงาน

1.   ผู้ศึกษานำเสนอหัวข้อโครงงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและกำหนดขอบเขตในการทำโครงงาน                                                                                                   
2.  วางแผนวิเคราะห์ตามหัวข้อวัตถุประสงค์ของโครงงาน
3. ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงงานเพื่อมาวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาที่สำคัญที่จะนำมาจัดทำโครงงาน
4. ศึกษา สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับสุภาษิต คำพังเพยสำนวนไทย ที่น่าสนใจมา จำนวน 100 ข้อ
5. แยกแยะ สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ที่มีความน่าสนใจ และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และหาความหมายของแต่ละ สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ในแต่ละสำนวนนั้นๆ
              6. จัดเป็นหัวข้อของแต่ละ สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ประกอบพร้อมอธิบายความหมายของแต่ละ สุภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย อย่างละเอียดครบถ้วน
7.   นำเสนอผลงานต่ออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อรายงานผลการดำเนินงาน

อุปกรณ์และวัสดุที่ใช้ในการศึกษา

1.   หนังสือสุภาษิตคำพังเพย
2.  หนังสือจับกระแสโลก
3.    อินเตอร์เน็ต
4.   กระดาษ
5.    ยางลบ
6.    ดินสอ


บทที่2 เอกสารเกี่ยวข้อง


บทที่ 2

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

สุภาษิต   คือ ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว ที่มีความหมาย เน้นคติสอนใจ

                คำพังเพย  คือ  ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว โดยกล่าวเป็นกลางๆ เพื่อให้ตีความหมายเข้ากับเรื่อง
                สำนวน  คือ  ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว แต่มีความหมายไม่ตรงตามตัว หรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่

1.              ข้าวใหม่ปลามัน
คนในสมัยโบราณถือว่า ข้าวใหม่ปลามัน คือข้าวที่เก็บเกี่ยวในครึ่งปีหลัง เป็นข้าวที่ดีกว่าข้าวเก่า และปลาเป็นอาหารคู่กับข้าว ปลามัน หมายถึงปลาในฟดุน้ำลดมีมันมาก รับประทานอร่อย จึงมาผูกเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบเช่น สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ

2.              เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน

ความหมายของสำนวนนี้ หมายถึงการที่จะต้องเสียอะไรไปสักอย่างแต่ไม่มีทางที่จะต้องสูญเปล่าแล้ว ก็ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อน ย่อมจะมีทางได้คืน เปรียบเหมือนเรือบรรทุกที่ไม่เกิดล่มในหนองเล็ก ๆ หรือ แคบ ๆ ในวงจำกัด ทองก็คงจมอยู่ตรงนั้นไม่ไปไหนเช่น ยอมลงทุนเสียเงินเสียทอง เพื่อแต่งงานกับคนมีเงินด้วยกัน ทุนที่ลงไปในการแต่งงานก็คงจะไม่สูญเปล่าเพราะทุนไปกองอยู่ด้วยกัน


3.              กำขี้ ดีกว่า กำตด

ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร : สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง

4.              ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

ความหมายอย่างเดียวกับที่ว่า ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ เพราะมีความหมายว่า ลูกย่อมไม่แตกต่างไปจากพ่อแม่แต่ถ้าพูดว่า ลูกไม้หล่นไกลต้น ความหมายก็อยู่ในลักษณะตรงกันข้าม แปลว่า ลูกที่มีนิสัยหางไกลหรือแตกต่างกับพ่อแม่

5.              เห็นเขาขึ้นคานนั่ง เอามือประสานรัดก้น

ความในสำนวนนี้ แปลว่า เห็นคนอื่นเขานั่งคานหาม มีคนหามไป ตัวเองก็เอามือประสานกันเข้า ช้อนใต้กัน เป็นทำนองว่า ตนก็นั่งคานหามเหมือนกันเป็นความหมายถึงการแสดงความทะเยอทะยาน ใฝ่สูงเกินศักดิ์ อยากจะทำตัวตามอย่างผู้สูงศักดิ์กับเขาบ้าง

6.              ตีงูให้หลังหัก

คำพังเพยสำนวนนี้ เป็นคำเตือนสติให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อจะทำอะไรก็ต้องตัดสินใจทำโดยเด็ดขาดหรือจริงจังลงไป อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้นผลร้ายจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง เปรียบได้กับการที่จะตีหรือกำจัดงูพิษ เราก็ต้องตีให้ตาย หรือให้ถึงขนาดหลังหักไปเลย มันจะได้สิ้นฤทธิ์กลับมาทำร้ายเราไม่ได้

7.              งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู

คำพังเพยสำนวนนี้ จะพูดสลับกัน คือเอาประโยคหลังขึ้นก่อนก็ได้ว่า ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ เพราะความหมายสัมพันธ์กัน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเราจะไม่เคยได้เห็น ตีนงู หรือ นมไก่ เลย เพราะงูไม่มีตีนและไก่ก็ไม่มีนม ความหมายของสำนวนจึงแปลว่า คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย เช่น คนสองคนทำตนเป็นคนมั่งมีหรือมีความรู้สูงเพื่ออวดคนอื่น ๆ แต่ทั้งสองคนนี้ต่างรู้ไส้กันดีว่าแท้จริงแล้วต่างคนต่างไม่มีเงิน หรือไม่มีความรู้เลยเมื่อมาพบกันเข้าจึงเท่ากับว่า ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่

8.              พกหินดีกว่าพกนุ่น

คำว่า พกหิน หมายถึง ใจคอหนักแน่น เปรียบเหมือนเอาหินหนัก ๆ มาไว้กลับตัว ส่วน พกนุ่น หมายถึง ใจเบา หรือหูเบาเอนเอียงง่าย เพราะนุ่นเป็นของเบา สำนวนนี้จึงหมายถึง ทำใจคอให้หนักแน่นไว้ดีกว่าหูเบาหรือใจเบา หลงเชื่อคำของคนอื่น

9.              เอาหัวดินต่างตีน

จะทำให้แปลกพิสดารออกไปอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อ หรือไม่เชื่อเป็นเด็ดขาด แต่สำนวนนี้มักเอามาใช้เป็นคำพนันขันต่อ เป็นทำนองว่า  ถ้าลือทำได้ อั๊วยอม เอาหัวเดินต่างตีน

10.       ดอกกระดังงาไทย ไม่ลนไฟไม่หอม

ตามความหมายของสำนวนอย่างหนึ่งว่า สิ่งใดก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้เปล่า ๆ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งธรรมดาไม่ดีหรือไม่เลว แต่ถ้าไปทำให้มีเรื่องขึ้น กลับดูเหมือนจะทำให้ดีกว่าเก่ายิ่งขึ้นกว่าเดิม ตามความหมายดังกล่าวนี้ เราจึงมักจะเอามาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า หญิงสาวบางคนที่บริสุทธิ์นั้นดูเป็นสิ่งธรรมดาไม่มีอะไรเป็นจุดเด่นหรือแปลก แต่ถ้าได้แต่งงานหรือมีสามีเสียครั้งหนึ่งแล้ว เลิกร้างกันกลับกลายเป็น แม่หม้ายเนื้อหอม ไปได้ เปรียบกับดอกกระดังงาไทย เมื่อเอามาลนไฟด้วยเทียนขี้ผึ้งจะมีกลิ่นหอมแรงขึ้น

11.       เขียนเสือให้วัวกลัว

ตามธรรมชาติ เท่าที่รู้จักกันอยู่ว่า วัวเป็นสัตว์ที่กลัวเสืออยู่มาก แม้จะมีรูปร่างใหญ่โตกว่าเสือก็ตามแต่ และวัวมักจะเป็นเหยื่อเสือเสียส่วนมาก เขาจึงเอามาเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบถึง การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว เรียกว่า เขียนเสือให้วัวกลัว

12.       รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี

ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไปส่วนรักลูกให้เฆี่ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด

13.       ไม่รู้จักเสือ เอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาแหย่

ทั้งสองสำนวนนี้ แปลว่า การทำอะไรที่แสดงความเซ่อเขลาของตนโดยไม่พิจารณาเสียก่อนมักมุ่งหมายไปในทำนองที่ว่า ไปต่อสู้หรือแข่งขันกับคนที่เขาชำนาญกว่าหรือเก่งกว่า โดยไม่รู้ว่าเป็นใคร เช่นหลงไปเล่นการพนันกับนักพนันที่เก่งและชำนาญเข้าโดยไม่รู้จัก เปรียบได้กับเอาเรือเข้าไปจอดในป่าที่มีเสือดุ ๆ หรือเอาไม้เข้าไปแหย่ให้มอดกัดกินเล่นสบาย

14.       ขนมพอผสมกับน้ำยา

ที่มาของสำนวนคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก ขนมจีนน้ำยา ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว คือ ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง เรียกว่า พอดีกัน จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้

15.       น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย

น้ำร้อนหมายถึงคนที่ปากร้ายแต่จิตใจไม่ร้ายย่อมไม่เป็นพิษภัย ส่วนน้ำเย็นหมายถึงคนปากหวานหลอกให้คนหลงเชื่อง่าย ๆ ย่อมมีอันตรายได้

16.       เนื้อหมูไปใส่เนื้อช้าง

มีความหมายถึงการที่เอาข้างที่มีอยู่น้อยกว่าอยู่เดิม ไปเติมให้แก่ข้างที่มีมากกว่าอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ข้างที่มีมากกว่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไม่สมกัน หรือเปรียบอีกทางหนึ่งว่า เอาเงินจากคนจนไปถมให้กับคนมั่งมีที่มีอยู่แล้วมากขึ้นอีก

17.       เนื้อเข้าปากเสือ

ลงว่า เนื้อตกเข้าไปอยู่ในปากเสือ หรือ เสือเอาปากขม้ำเข้าไว้แล้ว เนื้อย่อมไม่มีทางรอดเปรียบได้กับคนที่ตกเข้าไปอยู่ในที่เป็นอันตรายหรือตกเป็นเหยื่อของคนฉลาดกว่า หลอกให้เชื่อแล้วก็หาทางรอดได้ยาก

18.       ตีตนไปก่อนไข้

สำนวนคำพังเพยนี้หมายถึง การได้ข่าวหรือได้แต่เพียงรู้ว่า จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ก็ชิงแสดงอาการทุกข์ร้อนหวาดกลัว หรือวิตกกังวลไปเสียก่อนแล้ว ทำให้หมดกำลังใจหรือกำลังความคิดที่จะคิดป้องกันไว้ก่อน เรียกว่าไข้ยังไม่ทันมาถึงเลย ตัวเองก็ชิงเป็นไข้เสียก่อน เพราะความกระวนกระวายหรือตกใจนั่นเอง

19.       ไก่กินข้าวเปลือก

สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในสมัยก่อน ๆ

20.       กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี

สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้ เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า คนดีไม่สิ้นอยุธยา สำนวนนี้เป็นความหมาย ที่อธิบายอยู่ในตัวแล้ว คนดี ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม  อย่าชะล่าใจนักจักเสียที

21.       ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง

สำนวนตรงข้ามกับ ข้างนอกสุกใส คือดูแต่ภายนอกไม่งาม แต่แท้จริงกลับเป็นของแท้ของงาม สตรีที่มีรูปร่างขี้ริ้วไม่งดงาม แต่กิริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจก็ดีงาม ตรงข้ามกับรูปร่าง

22.       เล่นกับหมาหมาเลียปาก เล่นกับสากสากต่อยหัว

สำนวนต่อเนื่องกันทั้งสองประโยคนี้ มีความหมายว่าการลดตัวเองลงไปเล่นหัวคลุกคลีกับคนที่ต่ำกว่าหรือเด็กที่มีอายุน้อยกว่ามาก คนผู้นั้นหรือเด็กนั้นก็อาจจะเลียตีเสมอลามปามเข้าให้ สำนวนที่ว่า เล่นกับหมาหมาเลียปาก นั้นมีประสบการณ์ให้เห็นอยู่บ่อย ๆ เพราะธรรมชาติของหมาเป็นเช่นนั้น

23.       ช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่

สำนวนทำนองนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายประโยค และมีความหมายไปในทำนองเดียวกัน เช่น ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ ” ” ดูข้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่สำนวนที่ว่า ดูช้างให้ดูหาง นี้ มุ่งให้ดูหางช้าง ที่บอกลักษณะว่าเป็นช้างดีหรือช้างเผือก เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ตามเรื่องที่เล่าว่า เวลาช้างพังตกลูกเป็นช้างเผือกสีประหลาด พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน ย้อม กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้หรือขี้โคนดำ ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่าเป็นช้างเผือกแล้วมาจับไป หรืออย่างไรไม่แน่ชัด แต่การย้อมลูกของมันด้วยสีเผือกให้เป็นสีนิลนั้น ก็ยังเหลือร่องรอยอยู่อย่างหนึ่ง คือที่ปลายหางเป็นสีขาว เหตุนี้เขาจึงให้สังเกตลักษณะของช้างเผือกที่ตรงหางไว้เป็นหลักสำคัญ

24.       ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง

สำนวนนี่เปรียบเทียบได้สองทาง ทางหนึ่งก็หมายถึงสิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก อีกทางหนึ่งก็เปรียบได้กับสตรีที่งามแต่รูป แต่กิริยาและความประพฤติไม่ดี หรืองามเหมือนรูป ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า ข้างนอกขรุขระ ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง

25.       ปลูกเรือนคล่อมตอ

สำนวนนี้ หมาถึงการทำอะไรที่เป็นการล่วงล้ำหรือก้าวก่ายหรือทับสิทธิของอีกฝ่ายหนึ่ง จะโดยรู้อยู่หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตามแต่อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางก็ได

26.       นิ้วด้วนได้แหวน

สำนวนนี้ ควบคู่กับ ตาบอดได้แว่น หัวล้านได้หวี ดังได้อธิบายมาแล้ว คือหมายถึง การได้อะไรในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน หรือตนเองไม่มีโอกาสจะใช้ ทำนองเดียวกับ ไก้ได้พลอย เพราะพลอยย่อมไม่มีประโยชน์ หรือมีคุณค่าแก่ไก่สู้ข้าวเปลือกเมล็ดเดียวก็ไม่ได้

27.       ปิ้งปลาประชดแมว

สำนวนนี้ ต่อท้ายกับสำนวนที่ว่า หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว หมายความว่า การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง เพราะธรรมดาแมวชอบกินปลา ถ้ายิ่งปิ้งปลาให้แมวกินแบบประชดมาก ๆ แมวก็ยิ่งชอบ แต่ตัวคนทำประชดจะต้องเสียผลมากขึ้น

28.       โปรดสัตว์ได้บาป

สำนวนนี้ ต่อท้ายควบคู่กับสำนวนที่ว่า ทำคุณบูชาโทษ ความหมายดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว มักพูดติดต่อกันไปว่า ทำคูณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป

29.       เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ

สำนวนนี้ บางทีก็ว่า ยืมจมูกคนอื่นเขามาหายใจ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน โดยไม่คิดว่าจะได้รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่ากับที่ตนเองทำหรือไม่ และมักจะไม่ได้ผลดังที่ตนต้องการทีเดียวนัก

30.       มะนาวกลมกลี้ยง บ่มีคนกลึง

สำนวนนี้ มักใช้ควบคู่กับ หนามแหลม บ่มีคนเสี่ยม มะนาวกลมเกลี้ยง บ่มีคนกลึง หรือบางทีก็พูว่า หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีคนกลึง แปลว่า คนที่มีสติปัญญาหรือมีความสามารถเก่งกาจนั้น อาจเป็นผู้ที่ไม่ต้องมีใครสอนเลยก็ได้ โดยเกิดขึ้นเองในตัว หรือหมายถึง คนที่มีตระกูลดีหรือบรรพบุรุษดีมาแล้ว ตนเองก็ย่อมจะมีแววดีติดตามมาด้วย โดยไม่ต้องมีใครสอน

31.       ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว

สำนวนนี้ ประโยคแรกหมายถึง ผู้ชายที่บวชเป็นพระ ๓ ครั้งคือบวชแล้วสึก สึกแล้วบวชอีกถึง ๓ หนด้วยกัน ส่วน หญิงสามผัว นั้นคือหญิงที่แต่งงานแล้วมีสามีมาแล้ว ๓ ครั้งหรือ ๓ คน โดยมีสามีคนแรกแล้วเลิกร้างกันไป มามีคนที่สองเลิกล้างกันไปอีกจนถึงคนที่สามก็ต้องเลิกล้างกันไปอีก สำนวนนี้หมายความว่าผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอาอาการกระทำเป็นเครื่องวัด แต่ตกมาถึงสมัยนี้ เข้าใจว่า คงจะไม่มีใครค่อยเชื่อว่าถือกันเท่าไรนัก

32.       วันพระไม่มีหนเดียว

สำนวนนี้ มักใช้เป็นคำตอบโต้แก่อีกฝ่าย ในทำนองบาดหมางน้ำใจกันหรือในกรณีที่อีกฝ่ายทำให้ได้รับความเจ็บแค้น จึงใช้ไปในทางปรามาสว่า คงจะได้พบกันอีกในโอกาสหน้าหรือวันข้างหน้ายังมีอีก มูลของสำนวนนี้ เข้าใจว่าในสมัยก่อน เมื่อถึงวัน ๑๕ ค่ำ หรือ ๘ค่ำ ข้างขึ้นข้างแรม เป็นวันที่ชาวบ้านมักมาชุมนุมฟังเทศน์ทำบุญกันพร้อมหน้า ได้พบกันเต็มที่ จึงถือเป็นประเพณีว่าการที่จะพบกันได้อย่างจัง ๆ หน้า ก็ต้องเป็นวันพระนี้เอง
สำนวนนี้ มักใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงคนที่พูดอะไรไม่เป็นเรื่องจริงหรือไม่มีมูล เรียกว่าคนโกหกหรือปั้นเรื่องราวเก่ง คือสามารถปั้นน้ำเหลว ๆ ให้เป็นตัวได้

สำนวนนี้ มักใช้เป็นสำนวนเปรียบกับผู้ชาย ซึ่งตามหลักที่ว่าผู้ชายจะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้าหรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่งถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความเก่งกาจซึ่งเรามักพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า ชาติเสือไม่ทิ้งลาย อันมีความหมายอย่างเดียวกัน
สำนวนนี้ มาจากธรรมเทศนาที่สอนให้คนเรารู้จักอดกลั้นใจ หรือระงับยับยั้งความโกรธในการที่คิดจะสู้กับฝ่ายศัตรู มิให้เป็นเรื่องราวลุกลามใหญ่โตเกิดขึ้น โดยที่ฝ่ายรู้จักคิดอดกลั้นไม่ต่อกรด้วย ถึงจะเป็นผู้แพ้ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ที่คิดจะทำร้ายเขาเพื่อเอาชนะ
สำนวนนี้ มีความหมายทำนองเดียวกับ สิบเบี้ยใกล้มือ คือ ได้สิ่งไหนก่อนหรือง่ายก็ควรคว้าเข้าไว้ ไม่ควรรีรอเลือกมากเกินไป อาจจะชวดหรือไม่ได้เลยก็ได้ เปรียบกับปิ้งปลาเป็นอาหาร คือ เห็นว่า สุกหัวกินหัว สุกหางกินหาง ไม่ต้องรอให้ปลาสุกทั้งตัวจะช้าการไป.
สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร : สำนวนนี้เป็นคำพังเพยที่ระบุถึงอบายมุขทั้ง ๔ คือ สุรา (เหล้า ) นารี (ผู้หญิง : มักเจาะจงถึงผู้หญิงคนเที่ยว ) พาชี ( ม้าแข่ง ) กีฬาบัตร ( การพนัน จำพวก ไพ่ เช่น ไพ่ป๊อก ไพ่ตอง ) ว่าเป็นเหตุแห่งความฉิบหายของผู้ชายเราถ้าใครลงไปมั่วสุมเข้า หรืออีกทางหนึ่งหมายถึง คนที่เป็นนักเลงถึงพร้อม ๔ อย่าง หรือเกือบทุกอย่างซึ่งเรียกว่าเป็นนักเลงเต็มตัว แต่ไปในทางไม่ดีนัก
สำนวนนี้ มีความหมายอย่างเดียวกับสำนวนที่ว่า อัฐยายชื้อขนมยาย หรือ หอกมันแทงมัน คือแปลว่า อะไรที่มีอยู่แล้วหรือได้มาจากการนั้น ก็เอาอันนั้นไปทำให้เป็นผลต่อไป เช่น ได้เงินจากเสี่ยงโชค ก็เอาเงินที่ได้นั้นเสี่ยงโชคซ้ำลงไปอีก
สำนวนนี้ มีความหมายโดยเฉพาะถือการกระทำอะไรสักอย่างที่ตั้งใจว่า จะทำโดยเด็ดขาดต่อเมื่อทำลงไปแล้ว ก็กลายเป็นกระทบกระเทือนถึงพวกเดียวกันเองเข้า เช่น การจะสอบสวนหาผู้กระทำผิด ครั้นลงมือสอบไปแล้วก็พบว่า ผู้กระทำผิดนั้นมิใช่ใครอื่น คือพวกพ้องเดียวกันนั่นเอง ทำให้ความตั้งใจอย่างเด็ดขาดแต่แรก มีอันล้มเหลวไป
สำนวนนี้ มีความหมายโดยเฉพาะสำหรับชายหญิงที่เคยเป็นคู่รักหรือเคยมีสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วเลิกร้างกันไป หรือห่างไประยะหนึ่ง เมื่อกลับมาพบกันใหม่ ก็ทำท่าจะตกลงปลงใจ คืนดีกันได้ง่าย เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เคยติดแล้วมอดอยู่หรือถ่านดับไปแล้ว แต่พอได้เชื้อไฟใหม่ก็คุติดไฟลุกขึ้นมาได้เร็วกว่าถ่านที่ยังไม่เคยได้เชื้อไฟหลายเท่า
สำนวนนี้ มีความหมาอยู่ในตัวแล้วที่ว่า รกคนยังพอใช้ประโยชน์ได้บ้างแต่รกหญ้าไม่มีประโยชน์ สำนวนนี้ยังมีต่อท้ายด้วยว่า แต่รกคนบ้า รกหญ้าดีกว่ารกคน
สำนวนนี้ มุ่งหมายโดยเฉพาะกับผู้ที่เลี้ยงลูกของตน หรือเลี้ยงเด็กที่เป็นลูกบุญธรรมก็ตาม ถ้าเด็กนั้นมีสันดานชั่วร้าย เมื่อโตขึ้นก็ย่อมก่อความเดือดร้อนลำบาก ให้แก่ตนเองเปรียบได้กับการเลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ เมื่อยังตัวเล็กอยู่ยังไม่เป็นภัย แต่โตขึ้นก็อาจทำความเดือดให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นส่วนมาก
สำนวนนี้ มุ่งหมายโดยเฉพาะถึงชายกับหญิง ซึ่งรักใคร่ได้เสียกัน ในทำนองที่ว่า แม้จะได้เสียกันเพียงครั้งเดียว ถ้าทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีความสมบูรณ์ทัดเทียมกันก็อาจทำให้หญิงเกิดตั้งครรภ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสมสู่กันหลายครั้ง สำนวนนี้ เปรียบเอาหินไฟกับเหล็กมาตี เพื่อทำให้เกิดประกายไฟติดชุด คือนุ่นของคนในสมัยก่อน ๆ ซึ่งยังไม่มีไม้ขีดไฟใช้กันคือถ้าหินดีเหล็กดี ตีครั้งเดียวก็เกิดประกายไฟติดทำให้เป็นไฟขึ้นมาใช้ได้

43.       เอาใจเขามาใส่ใจเรา

สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา

44.       วัวสันหลังขาด

สำนวนนี้ ยังมีต่อสร้อยด้วยว่า วัวสันหลังขาด เห็นกาบินผาดก็ตกใจ มีความหมายถึงคนที่มีอะไรพิรุธหรือมีการกระทำไปแล้ว ในทำนองไม่สู่ดี มักมีอาการคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ กลัวว่าจะมีคนรู้เห็นหรือมารื้อฟื้นกล่าวโทษขึ้น สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า วัวสันหลังหวะ ซึ่งแปลตามสำนวนก็ว่า วัวสันหลังเป็นแผลหวะ หรือมีบาดแผลที่หลัง กาจะบินมาจิกแผลตนเอง

45.      ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป

สำนวนนี้ หมายความว่า การทำคุณหรือการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาดี แต่กลับกลายเป็นได้รับโทษตอบแทนหรือเข้าทำนองที่ว่า ยุ่งไม่เข้าเรื่องอะไรทำนองนั้นสำนวนนี้นิยมใช้ประโยคแรกประโยคเดียวพูดก็เป็นที่เข้าใจกัน

46.       เพชรตัดเพชร

สำนวนนี้ หมายถึงคนที่มีความสามารถดีกับคนที่มีความสามารถพอ ๆ กัน มาพบกันเข้าต่างฝ่ายย่อมจะทำอะไรกันไม่ได้ เพราะเท่ากับเก่งด้วยกัน เหมือนเพชรคม ๆ ด้วยกัน

47.       ล้วงคองูเห่า

สำนวนนี้ หมายถึง คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า โดยทั้งที่รู้หรืออาจไม่รู้ เช่นการเข้าไปฉกฉวยทรัพย์สินในบ้านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกล้าเข้าไปก่อนความเดือดร้อนแก่ผู้มีอิทธิพลในถิ่นนั้น ๆ

48.       น้ำลดต่อผุด

สำนวนนี้ หมายถึง คนที่เวลาชะตาตกหรือเคราะห์ร้าย ความลับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความประพฤติไม่ดี เช่น ทุจริต คดโกง ที่เคยทำไว้ก็มักปรากฏออกมาให้เห็น เวลาชะตาดีก็เปรียบเหมือนน้ำขึ้นท่วมตอ จึงมองไม่เห็นตอ แต่เวลาชะตาตก น้ำลดแห้ง ตกก็ผุดขึ้นมาให้เห็นเป็นแถว

49.       ไม้ซีกงัดไม้ซุง

สำนวนนี้ หมายถึง คนผู้น้อยหรือผู้มีฐานะต่ำไปคัดค้าน หรือไปก่อความกับผู้มีอำนาจสูงกว่า หรือมีฐานะดีกว่า ก็ย่อมจะเป็นผู้แพ้หรือทำไม่สำเร็จ มีแต่จะได้รับอันตรายอีกด้วย เพราะไม้ซีกเล็กกว่าไม้ซุง เมื่อเอาไปงัดไม้ซุงจะให้พลิกขึ้น ก็รังแต่ไม้ซีกจะหักเปล่า

50.       นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น

สำนวนนี้ หมายถึง ในกลุ่มในพวกที่มีจำนวนมาก แต่บังเอิญมีคนชั่วอยู่ด้วยก็ให้คัดออกเสียเฉพาะที่ชั่ว หรือถ้าจะลงโทษ ก็ควรลงโทษแต่เฉพาะคนชั่ว ส่วนคนที่ดีนั้น ก็ไม่ควรไปเหมาเอาว่าเป็นพวกเดียวกัน หรือชั่วไปหมดเสียทุกคนทีเดียวนัก

51.       ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้

สำนวนนี้ หมายถึงคนสองคนที่ต่างก็มีอำนาจ หรืออิทธิพลยิ่งใหญ่เท่ากัน ย่อมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายก็ต่างจะแข่งรัศมีกันด้วย

52.       สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก

สำนวนนี้ หมายถึงคนในครอบครัวเรากับคนภายนอกบ้าน คือคนที่อยู่กับเราภายในบ้านนั้นย่อมมีความสัมพันธ์และคุ้นเคยรู้อกรู้ใจกันมากับเราเป็นอย่างดี หรือเปรียบได้กับคนที่ทำงาน อยู่ในบังคับบัญชาของเรามานาน ๆ ย่อมจะมีความชำนาญในหน้าที่ต่าง ๆ เป็นอย่างดีเมื่อมีคนต้องออกไปแล้ว คนจะหาคนมาอยู่ใหม่ แทนกี่สิบคนก็คงสู้คนเก่าที่ออกไปไม่ได้

53.       พุ่งหอกเข้ารก

สำนวนนี้ หมายถึงทำอะไรที่สักแต่ว่าทำลงไปให้แล้วเสร็จ โดยไม่คิดคำนึงถึงผลเสียหรือผลที่จะได้รับเป็นอย่างไร เปรียบได้กับการพุ่งหอกเข้าไปในที่รก โดยไม่รู้ว่า หอกนั้นจะไปตกต้องโดนอะไรเข้าไปเป็นผลเสียหายบ้าง เพราะในที่รกย่อมมองไม่เห็นว่ามีอะไร
สำนวนนี้ อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้ว เป็นสุภาษิตสอนใจคนเราว่า อย่าไว้ใจทั้งในเรื่องหนทาง หรือการเดินทางและในเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ ให้มากนัก จะได้รับเคราะห์โดยไม่รู้ตัวเข้าได้

สำนวนนี้ เนื่องจากว่าคนไทยในสมัยก่อน ๆ ถือว่า การเป็นพ่อค้าหรืออาชีพค้าขายนั้น สู้รับราชการขุนนางหรือข้าราชการไม่ได้ เพราะเหตุที่คนไทยในสมัยก่อนยังไม่มีความชำนาญในทางค้าขายดีพอ เมื่อไปทำมาค้าขายเข้า ก็มักประสบกับการขาดทุนมากกว่ากำไร สู้เป็นขุนนางหรือเป็นข้าราชการไม่ได้ เพราะพระเจ้าแผ่นดินหรือรัฐบาลชุบเลี้ยงให้มีเงินเดือน ซึ่งเท่ากับว่ามีแต่ทางได้ไม่มีทางขาดทุน
สำนวนนี้ เป็นคำเปรียบเปรยคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโง่เขลา เช่น เอาอะไรมาแสดงอวดกับคนที่เขารู้ดีอยู่แล้ว หรือเรียกว่าทำไปโดยไม่คิดว่าเขาจะรู้ดีกว่าตน เปรียบเหมือนเอามะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่ไปขายกับชาวสวนที่มีมะพร้าวอยู่แล้ว ความหมายอย่างเดียวกับคำว่า ห้าแต้ม
สำนวนนี้ เป็นสำนวนปริศนาที่ตีความยาก แต่ก็พอมีเค้าให้เข้าใจได้ว่า การทำอะไรก็ตามแต่ ควรทำให้พอดี อย่าให้มากเกินไป ถ้าเห็นว่าจะเกินไปทำให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อผู้อื่น ก็ระงับยับยั้งไปเสียหรือจะทำอะไรที่เรียกว่าง่าย ๆ สั้น ๆ เกินไปก็อย่าด่วนทำควรค่อยคิดค่อยทำต่อไปให้เหมาะสม
สำนวนนี้ เป็นสุภาษิตคำพังเพยของท่านเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ดำรง มีความหมายอธิบายอยู่ในตัวประโยคแล้ว และมีสำนวนต่อท้ายในลักษณะตรงข้ามอีกด้วย บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย

สำนวนนี้ เราอาจจะไม่คอยได้ยินในสมัยนี้นัก เพราะเป็นสำนวนเก่าแก่ของคนในสมัยก่อน ๆ ใช้พูดกัน มีความหมายว่า ไปไม่รอด หรือไปไม่ได้ตลอด หรือไปให้ไกลแสนไกลแค่ไหนก็จะต้องหมุนเวียนกลับมาอีก เปรียบเหมือนปี ๑๒ นักกษัตร ที่หมุนเวียนอยู่เรื่อยไปภายใน ชวด ฉลู ถึง กุล สำนวนนี้มักใช้ประชดคนที่ทำใจแข็งโดยไม่สมเหตุผล


สำนวนนี้ เวลาพูดมักจะใช้คำตรง ๆ ว่า เขียนด้วยมือลบด้วยตีน เป็นความเปรียบเปรยถึง คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ หรือเปรียบอีกทางหนึ่งถึงคนที่ออกคำสั่ง หรือให้สัญญาไว้แต่แรกอย่างหนึ่ง แล้วปุบปับกลับเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือสัญญานั้นเสีย ให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามโดยไม่มีเหตุผล
สำนวนนี้ แตกต่างกับการสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ เพราะหมายถึงการสอนผู้ที่มีความรู้ดีเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าคนผู้นั้นรู้หรือชำนาญดีกว่าตนเสียอีก ความหมายใกล้เคียงกับสำนวนที่ว่า เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน
สำนวนนี้ โบราณมักใช้พูดกันมาก หมายถึงการกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือได้สมดุลกัน หรือใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เช่นลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ เปรียบเหมือนตำน้ำพริกเพียงครกเดียว เอาไปละลายในแม่น้ำกว้างใหญ่ เมื่อละลายไปก็จะสูญหายไปหมดสิ้นไปทำให้แม่น้ำเกิดอะไรผิดปกติขึ้น เสียน้ำพริกไปเปล่า ๆ
สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายโดยเฉพาะกับผู้ชายเราที่บังเอิญมาพบผู้หญิงสวยงาม ถูกใจอย่างแท้จริงคนหนึ่งเข้า แต่ก็เป็นการสายเสียแล้ว เพราะวัยของคนชราภาพหรือมีครอบครัวเต็มทีแล้ว ก็เท่ากับว่า สังขารของคนชราภาพหรือมีครอบครัวเต็มทีแล้ว ก็เท่ากับว่า สังขารของตนไม่อำนวย เพราะ ขวาน ที่จะใช้การก็มามีอัน บิ่น ตัดไม้หรือตัดอะไรไม่ได้เสียแล้ว
สำนวนนี้ ใช้เป็นคำเปรียบเปรยถึงคนที่ประพฤติชั่ว ถึงจะเอามาอบรมเลี้ยงดูดีอย่างไร ก็อดประพฤติเช่นเดิมไม่ได้ เปรียบได้กับสุนัขส่วนมากซึ่งชอบกินขี้อยู่เสมอ แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยจะได้เห็นดังว่า ก็เพราะส้วมถ่ายอุจาระของเราสมัยนี้มิดชิดไม่ค่อยเรี่ยราดเหมือนสมัยก่อน

สำนวนนี้ ไม่ทราบที่มาหรือมูลของสำนวนแน่ชัด
แต่ก็เป็นที่รู้ ความหมายกันทั่วไปว่า หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้
สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า เข็นครกขึ้นภูเขา ”  กันส่วนมาก แต่แท้จริง ครก ต้องทำกริยา กลิ้ง ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า เข็น แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : แปลว่าหมดหนทางที่จะทำหรือไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือ เป็นการทำให้ตัดสินใจไม่ถูก เพราะจะไม่ทำลงไปก็ไม่ดี ทำลงไปก็ไม่ดีเป็นการยากที่จะตัดสินใจทำลงไปได้ง่าย เหมือนก้างปลาหรือเศษอาหารอะไรอย่างหนึ่ง เข้าไปติดอยู่กลางลำคอกลืนก็ไม่เข้าคายก็ไม่ออก
สำนวนนี้ มักจะใช้กันมาก เพราะเป็นสำนวนสุภาษิตที่เตือนใจให้คนเราอย่าทระนงหรือประมาท ไม่ว่าจะมีความรู้หรือปัญญาฉลาดปราดเปรื่องสักแค่ไหนถ้าประมานก็มีวันพลาดท่าเสียทีเขาลงได้ เพราะอุปมาเอาว่า สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เราผู้เป็นคนธรรมดาสามัญหรือมีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยิ่งจะมีทางพลาดพลั้งลงได้ง่าย โดยมีสำนวนต่อท้ายว่า สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงมาบ้าง
สำนวนนี้ มีความหมายหรือคำบรรยายอยู่ในตัวแล้ว คือคบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย
สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใครผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว

สำนวนนี้ มีประโยคต่อท้ายสัมผัสกันด้วยว่า ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก แต่เรามักพูดสั้น ๆ ว่า โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ หมายความว่าจะคิดกำจัดศัตรู ปราบพวกคนพาลให้หมดสิ้นทีเดียวแล้ว ก็ต้องปราบให้เรียบอย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลยแม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมาเป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก ทำนองเดียวกับที่ว่า ถ้าเราจะขุดตอไม้ทิ้ง เราก็ต้องขุดทั้งรากทั้งโคนมันออกให้หมดอย่าให้เหลือไว้จนมันงอกขึ้นมาภายหลังได้อีก
สำนวนนี้ หมายถึง คนที่อวดดีหรือชอบกระทำนอกลู่นอกทางเมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งเปรียบเทียบได้กับเด็กที่ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง เมื่อห้ามด้วยปากไม่เชื่อก็ต้องใช้ไม้เรียวเฆี่ยนทำให้เจ็บตัวเสียก่อนจึงจะรู้สึก

72.       จุดไต้ตำตอ

สำนวนนี้ หมายถึงการพูดกล่าวขวัญหรือทำอะไรสักอย่าง โดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้จักคนผู้นั้นครั้นพอรู้ความจริง ผู้พูดหรือผู้ทำกลายเป็นคน ห้าแต้ม ไปเลย ถ้าเป็นการพูดกล่าวขวัญในทางร้ายหรือนินทาด่าคนผู้นั้นเข้า ดีไม่ดีก็ต้องเคราะห์ร้ายเปรียบเหมือนจุดไต้ไปตำเข้ากับตอถึงไฟดับ สำนวนนี้เข้าใจว่า มาจากการจุดไต้ให้ไฟสว่างของคนสมัยโบราณ ซึ่งใช้เป็นไฟฉายส่องทาง แล้วเอาไต้ไฟไปชนเข้ากับต่อถึงดับ

73.       ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

สำนวนนี้ หมายถึงคนที่มีวิชาความรู้ดี หรือรู้สารพัดเกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข หรือความหมายอีกทางหนึ่งว่า มีความรู้อยู่มากมายแต่ใช้วิชาหากินไม่ถูกช่อง ทำให้ต้องตกอยู่ในฐานะยากจนอยู่เรื่อยมา สู้คนที่ไม่รู้หนังสือเลย แต่หากินจนร่ำรวยไม่ได้

74.       ใส่ตะกร้าล้างน้ำ

สำนวนนี้ เป็นคำเปรียบเปรยถึงการทำให้คนที่มีมลทิน หรือมีเรื่องเสียมาก่อนให้กลับเป็นคนดีหรือเป็นคนใหม่ที่บริสุทธิ์ขึ้นมา เปรียบเหมือนเอาปลาที่เหม็นคาว หรือมีกลิ่นมาใส่เกลือแช่สักพัก แล้วเอาใส่ตะกร้าล้างน้ำโดยวิธีจุ่มสงขึ้นหลาย ๆ หนเพื่อให้หมดกลิ่น สำนวนนี้มักใช้กับหญิงที่เสียความบริสุทธิ์ไปแล้ว หรือมีราคี แล้วเอาชุบอบรมทำให้เป็นหญิงบริสุทธิ์คนใหม่เสีย
ไส้เป็นหนอน : หมายถึง ญาติพี่น้องหรือคนในบ้านของตนเองไม่ซื่อสัตย์คิดร้ายหรือทรยศ ทำให้ตนต้องได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า
หนอนบ่อนไส้ โบราณมักเอาคำว่า ไส้ มาเปรียบกับตัวเรา ญาติพี่น้องวงศ์วาร หรือความลับภายใน , เรื่องส่วนตัว ฯลฯ เป็นส่วนมาก เช่น ไส้กี่ขด ๆ ” ( หมายถึงความลับภายในหรือเรื่องส่วนตัว ) สาวไส้ให้กากิน , ไส้เป็นน้ำเหลือง ฯลฯ

75.       จับเสือมือเปล่า

สำนวนนี้ ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือใช้ความสามารถของตนเองเป็นหลักใหญ่เข้าทำ

76.       ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พลอยพาให้เหม็นไปด้วย

สำนวนนี้ค่อนข้างจะยาวไปสักหน่อย แต่ก็เป็นที่จำได้ง่าย หรือใช้กันทั่วไป มีความหมายว่า คนที่อยู่ร่วมกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งทำมิดี หรือทำชั่วก็พลอยให้คนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันเสียไปด้วย

77.       ตกกระไดพลอยโจน

สำนวนนี้ทางหนึ่งหมายถึง ว่ากันว่าการทำอะไรที่บังเอิญเกิดผิดพลาดขึ้น โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง หรือทำไปได้ครึ่งแล้ว ก็จำต้องทำมันต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียเลยเรียกว่า พลอยโจน อีกทางหนึ่ง คงจะหมายถึงการพลอยผสมโรงหรือพลอยตามไปด้วยกับเขา ทำนองเดียวกับที่ว่า เห็นคนอื่นตกกระได ตนเองก็เลยพลอยโจนตามโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่อีกทางหนึ่ง อาจหมายความได้ว่าการกระทำอะไรบังเอิญผิดพลาด คือ ตกกระได ก็เลยใช้วิธีกระโจนลงไปเสีย เพื่อไปตั้งหลักเอาใหม่ดีกว่าปล่อยให้ตกกลิ้งลงไป.
ติเรือทั้งโกลน : เป็นสำนวนหมายความว่า ชิงติงานที่เขาเริ่มทำใหม่ ๆ เสียก่อน ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า ฝีมือเขาจะเป็นยังไง
โกลน ในสำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถากตั้งเป็นรูปขึ้นก่อนเพื่อจะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรกจึงดูไม่ค่อยเป็นรูปร่างดี ต่อเมื่อโกลนดีแล้ว จึงตบแต่งค่อยเป็นค่อยไปจนเป็นรูปเรือ


78.       วัวลืมตีน

สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายเปรียบเทียบถึงคนที่ไม่เจียมตัว หรือมีศักดิ์ต่ำแต่คิดเห่อเหิมจะทำตัวให้เทียมหน้าเขา

79.       ถ่มน้ำลายแล้วกลับกลืนกิน

สำนวนนี้ต่างกับคำว่า ถ่มน้ำลายรดฟ้า ถ่มน้ำลายในประโยคนี้ หมายถึง การที่พูดหรือลั่นวาจาออกไปแล้ว เป็นการตัดขาดว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันอีก แต่แล้วก็กลับไปเกี่ยวข้องเข้าอีก เป็นทำนองกลับคำของตนเองที่ได้พูดไว้

80.       หัวล้านนอกครู

สำนวนนี้ต่างกับคำว่า หัวล้านได้หวี เพราะหมายถึง คนที่ทำอะไรนอกแบบแผน หรือไม่ทำอย่างที่คนธรรมดาเขาปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป โบราณมักจะเอาคนหัวล้านมาผูกเป็นประโยคสำนวน หรือคำพังเพยส่วนมาก เข้าใจว่า คนหัวล้านในสมัยนั้นคงมีพฤติการณ์อะไรแปลก ๆ หรือเป็นจุดเด่นให้สังเกตได้ง่ายก็อาจเป็นได้

81.       ตกกระไดพลอยโจน

สำนวนนี้ทางหนึ่งหมายถึง ว่ากันว่าการทำอะไรที่บังเอิญเกิดผิดพลาดขึ้น โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง หรือทำไปได้ครึ่งแล้ว ก็จำต้องทำมันต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียเลยเรียกว่า พลอยโจน อีกทางหนึ่ง คงจะหมายถึงการพลอยผสมโรงหรือพลอยตามไปด้วยกับเขา ทำนองเดียวกับที่ว่า เห็นคนอื่นตกกระได ตนเองก็เลยพลอยโจนตามโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่อีกทางหนึ่ง อาจหมายความได้ว่าการกระทำอะไรบังเอิญผิดพลาด คือ ตกกระได ก็เลยใช้วิธีกระโจนลงไปเสีย เพื่อไปตั้งหลักเอาใหม่ดีกว่าปล่อยให้ตกกลิ้งลงไป.
ติเรือทั้งโกลน : เป็นสำนวนหมายความว่า ชิงติงานที่เขาเริ่มทำใหม่ ๆ เสียก่อน ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า ฝีมือเขาจะเป็นยังไง
โกลน ในสำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถากตั้งเป็นรูปขึ้นก่อนเพื่อจะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรกจึงดูไม่ค่อยเป็นรูปร่างดี ต่อเมื่อโกลนดีแล้ว จึงตบแต่งค่อยเป็นค่อยไปจนเป็นรูปเรือ



สำนวนนี้ประโยคควบคู่อยู่ด้วยอีกสองประโยคคือ หัวล้านได้หวี นิ้วด้วนได้แหวน มีความหมายอย่างเดียวกัน คือหมายถึง การได้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเองเลยแม้แต่น้อย เพราะคนศรีษะล้านย่อมไม่มีผมจะหวี และคนตาบอดถึงจะใส่แว่นก็มองไม่เห็นเพราะแว่นไม่ช่วยให้คนตาบอดกลับเห็นได้
สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )
มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า  ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง
สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่แล้ว คือเมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง เพียงแค่เอาดินมาปั้นเป็นตุ๊กตาให้เด็ก ๆ ลูกหลานในบ้านท่านเล่นก็ยังดี แต่ประโยคนี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่า เพียงแต่ช่วยดูแลเด็กเล็กในบ้านให้แก่ท่านผู้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ
สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่แล้วในประโยคแรก ที่ว่าการพลาดถลำตกลงไปในร่องพื้น ยังพอชักเท้าขึ้นมาได้ แต่การถลำใจซึ่งหมายถึงการหลงเชื่อหรือหลงรักหนัก ๆ เข้า ย่อมถอนออกได้ยาก
สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่ในตัวแล้ว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐ ครั้งหรือมากกว่านั้น ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมด โบราณจึงว่า  โจรหรือขโมยขึ้นบ้านสัก ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว

สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยค เป็นสุภาษิตพังเพยที่สอนว่า การทำอะไรก็ตามแต่จะต้องตามใจผู้ที่จะได้รับโดยตรง เช่น พ่อแม่ที่คิดจะหาสามีให้บุตรสาวของตนเอง ก็ควรจะเลือกผู้ชายที่บุตรสาวของตนเอง ก็ควรจะเลือกผู้ชายที่บุตรสาวของตนมีใจสมัคอยู่ด้วย จึงจะชอบ
สำนวนนี้หมายถึง การทำอะไรที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทรามหรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะหมายถึงผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อยเห็นอย่างชัดแจ้ง
สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยคที่ว่า การปล่อยให้บุคคลสำคัญ หรือศัตรูที่เราจับได้กลับไปสู่แห่ลงเดิมของมัน เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า และปลาอยู่ในน้ำ เมื่อมันกลับสู่รังธรรมชาติของมันแล้ว กำลังวังชาของมันก็ย่อมมีขึ้นอย่างเดิม มันอาจจะเป็นเหตุให้ศัตรูกลับมาคิดแก้แค้นเราได้ภายหลัง
สำนวนนี้มีความหมายแตกต่างกับประโยค เกลียดขี้ขี้ตาม เพราะแปลความหมายไปในทางที่ว่าเกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา หรือของ ๆ เขา ตามความหมายเปรียบเทียบของสำนวนที่ว่าเช่นเกลียดปลาไหลในรูปร่างของมัน แต่เมื่อเอามาแกงมีรสหอม
ก็ทำให้อดอยากกินแกงไม่ได้ถึงแม้จะไม่กินเนื้อปลาไหลเลยก็ตาม
สำนวนนี้หมายถึง การที่จะทำงานใหญ่ ๆ เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับจำนวนมาก ๆ แล้ว ก็อย่าเสียดายเงินทองหรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องเสียที่เดียวนัก เปรียบเหมือนฆ่าควายทั้งตัวเพื่อจะปรุงอาหารมาก ๆ ก็อย่าเสียดายพริกที่จะต้องใช้แกงหรือผัด มิฉะนั้นอาหารจะเสียรสเพราะเนื้อควายกับพริกแกงไม่ได้สัดส่วนกัน
สำนวนนี้หมายถึง คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูนที่กินกับหมาก

สำนวนนี้หมายถึงคนที่พูดเก่ง หรือตลบแตลงเก่ง พูดกลับกลอกได้รอบตัว หรือพูดจนจับคำไม่ทัน เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือและไว้ใจ เปรียบเหมือนกับว่าเป็นคนหลบหลีกได้คล่อง ถึงจะเอามะกอกใส่เต็มตะกร้า ๓ ๔ ตะกร้ามาขว้างปาก็ไม่ถูก ทำนองเดียวกับที่ว่า จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

สำนวนนี้เปรียบเทียบ มหาสมุทรซึ่งเป็นสถานที่กว้างใหญ่ลึกลับ เมื่อเข็มเย็บผ้าเพียงเล่มเดียวที่ตกลงไปยังก้นมหาสมุทร จึงย่อมค้นหาไม่ใช่ของง่ายนัก หรือไม่อาจจะค้นหาได้ เปรียบได้กับการที่เราจะค้นหาอะไรสักอย่างหนึ่งที่อยู่ในวงกว้าง ๆ ไม่มีขอบเขต ย่อมสุดวิสัยที่เราจะค้นหาได้ง่าย
สำนวนนี้เป็นคำเปรียบเปรย หรือเป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หรือคนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเองเป็ยอย่างไรเสียก่อน จึงค่อยคิดทำเทียมหน้าเขา ความหมายทำนองเดียวกับที่ว่า ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อน สำนวนนี้ ผู้หญิงสูงศักดิ์มักจะใช้เป็นคำเปรียบเปรยเย้ยหยันผู้ชายที่มีฐานะต่ำต้อยกว่า
สำนวนนี้เป็นที่เข้าใจกันว่า เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรียกว่า หัวหาย ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วยขจัดเหตุร้ายหรือเป็นเพื่อนอุ่นใจได้ดีกว่าไปคนเดียว
หมายความว่า การทำตัวดี ประพฤติดี มีความรู้ดี ก็ได้งานอาชีพเบาหรืองานสูง ถ้าทำตัวไม่ดี หรือขาดความรู้วิชาก็ต้องทำงานหนัก จำพวกแบกหามหรืองานต่ำ
หมายความว่า จะทำอะไรก็ค่อย ๆ พูดจากัน อย่าให้มีเรื่องมีราวเดือดร้อนเกิดขึ้นกีบอีกฝ่ายหนึ่ง

หมายความว่า พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้นิ่งไว้ดีกว่า
หมายความว่า คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้ายหรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย